ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

ความรู้ คู่คุณธรรม

ประวัติโรงเรียน

                โรงเรียนบ้านวังข่อย ตั้งอยู่หมู่บ้านวังข่อยหมู่ที่ 4 ตำบลทับใต้ อำเภอหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์เดิมเป็นโรงเรียนสาขาของโรงเรียนบ้านห้วยมงคลก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2520 จากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านวังข่อยและชาวบ้านปุ่มมะค่าโดยการนำของนายแหว่ว เอี่ยมศิริ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 ได้ช่วยกันจัดหาวัสดุในการก่อสร้างอาคารชั่วคราวขนาดกว้าง 9.0 เมตร ยาว 15.0 เมตร เริ่มเปิดทำการสอนเมื่อวันที่ 17 มกราคม 2520 มีนักเรียนทั้งสิ้น 84 คน ชาย 38 คน หญิง 46 คน มีนายวิชัย ทองเกลี้ยง ครูโรงเรียนบ้านหนองขอนมารักษาการแทนในตำแหน่งครูใหญ่          
                ต่อมาหมวดการศึกษาอำเภอหัวหิน  เห็นว่าที่ตั้งโรงเรียนอยู่ห่างจากถนนเกินไป  จึงให้โรงเรียนแลกเปลี่ยนที่ดินกับชาวบ้าน แล้วสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่เป็นอาคารชั่วคราวโดยขอความร่วมมือจากศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ปราณบุรี ขอรถมาปรับที่ดินและมีชาวบ้านร่วมด้วย 6 คันใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่ 7 วัน ได้ทำพิธีเปิดอาคารใหม่  เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม  พ.ศ. 2520  โดยมีหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอหัวหินมาเป็นประธานในพิธี    
                เมื่อ พ.ศ.  2521 ทางราชการ ได้กำหนดให้โรงเรียนที่เปิดใหม่ต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย  10  ไร่ขึ้นไป  ผู้ใหญ่แหว่ว  เอี่ยมศิริและชาวบ้านรวบรวมเงินซื้อให้อีก 3 ไร่ และได้ติดต่อกับบริษัทสัปปะรดกระป๋องไทย (ไต้หวัน)สร้างอาคารเรียนให้อีก 1 หลัง  มีจำนวนห้องเรียน 4  ห้อง  ตัวอาคารมีขนาดกว้าง  8.5 เมตรยาว 36  เมตรทางราชการได้ส่งนางจรรยา  ส้มเขียวหวาน  มาเป็นครูใหญ่แทนนายวิชัย ทองเกลี้ยง   ซึ่งย้ายกลับโรงเรียนเดิม
ปี พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง 5ห้องเรียนเป็นอาคารแบบ ป.1จ  ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 400,000  บาท (สี่แสนบาทถ้วน) พร้อมสร้างบ้านพักครูตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  ในวงเงิน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
                ปี  พ.ศ. 2525   นายสำเภา  ประจวบเหมาะ   สมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้บริจาคทรัพย์สร้างบ่อน้ำบาดาล เป็นเงิน  45,000 บาท(สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)และซื้อคอนกรีต  48,250   บาท  (สี่หมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)  
                ปี พ.ศ. 2526 ได้งบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 202 / 26 เป็นเงิน 200,000 บาท(สองแสนบาทถ้วน) และส้วมแบบ สปช. 601/26 เป็นเงิน 40,000 บาท 
                ปี พ.ศ. 2527 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102 / 26  อีกหนึ่งหลัง  จำนวน 2   ห้องเรียน   เป็นเงิน   280,000   บาท  (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
                ปี พ.ศ. 2528 ได้งบประมาณสร้างเรือนเพาะชำแบบ  พ. 1  จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ปี พ.ศ. 2529 ได้งบประมาณติดตั้งไฟฟ้าโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ทางราชการส่งนายประยูร  คล้ายจำลอง  มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทนนายนิเซะ  มะกาเจ
                ปี พ.ศ. 2532  กำนันแหว่ว   เอี่ยมศิริ  พร้อมคณะได้จัดสร้างหอถังน้ำประปาโรงเรียนตามแบบของกรมอนามัยซึ่งมีถังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ที่
                ปีพ.ศ. 2533  ได้งบประมาณสร้างถังน้ำฝน  แบบ  ฝ.30   พิเศษ  จำนวน  1  ที่  3 ถัง  เป็นเงิน 48,500 บาท      (สี่หมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)  สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12  กรกฎาคม 2533
                เมื่อวันที่ 25  กรกฎาคม  2534 บริษัทมาเจสติค ครีกคันทรีคลับได้มาให้ความอนุเคราะห์บริจาคห้องสมุดตามโครงการห้องสมุดคิดเป็นมูลค่า 55,000 บาท  (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างและได้รับมอบหมายโดยตัวแทน   นายอำเภอจากบริษัทเรียบร้อยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2538
                ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536  ได้สร้างโรงเก็บรถนักเรียน  โดยการนำของนางรัตนาภรณ์  เพิ่มยศ  ซึ่งได้รับความอุปการะจากบริษัทเดอะมาเจสติกครีกและนางบุศรา  เถาลิโป้  สร้างเตาเผาขยะบริจาคให้แก่ทางโรงเรียน 1 ที่โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการทั้งสองรายการ นายแหว่ว  เอี่ยมศิริ  กำนันตำบลทับใต้และบริษัทเดอะมาเจสติกครีก  นำดินมาถมสนามให้แก่ทางโรงเรียนพร้อมปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยและใช้การได้ดี
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2538  นายอมรรัตน์  ม่วงสกุล  ได้บริจาคโรงอาหารให้ 1 หลัง  เป็นคอนกรีตโครงเหล็ก เป็นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 100,000  บาท  (หนึ่งแสนบาทถ้วน) 
                เมื่อปี 2548  โรงแรมฮิลตันได้บริจาคเงินจำนวน   115,000    บาท   เพื่อสร้าง   อาคารห้องสมุดให้แก่โรงเรียนจำนวน 1 หลัง  และส้วม  จำนวน 1 หลัง  มี 3 ห้อง  และทำการทาสีอาคารเรียนที่ 1 พร้อมบริจาคอาหารและเครื่องเขียนจำนวน หนึ่ง
เมื่อวันที่ 5  ธันวาคม 2549  ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดสร้าง โรงเก็บรถครูจำนวน 1 หลัง  โดยจัดหางบประมาณมาเอง  ประมาณ 10,000 บาท
                ปี 2550 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนพร้อมคณะครูได้จัดสร้างโรงจอดรถให้โรงเรียน  1  หลัง   เป็นเงิน  20,000  บาท
                ปี 2551  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนได้จัดทอดผ้าป่าการศึกษา   ได้เงินจำนวน  100,000  บาท  แล้วนำเงินไปสร้างกำแพงโรงเรียนจนเสร็จเรียบร้อย
                ปี 2551  องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้   ได้ขอห้องเรียนเพื่อเปิดศูนย์เด็กเล็ก 3 ขวบ  1 ห้องเรียน  โดยส่งผู้ดูแลเด็กเล็กจำนวน  2  คน
                ปีการศึกษา  2552 โรงเรียนได้ปูกระเบื้องอีก 5 ห้อง คือ ห้องพยาบาล ห้อง ป.1 -3 และห้องพิเศษ โดยใช้งบประมาณในการจัดงานโรงเรียนประจำปี
                ปีการศึกษา 2553 บริษัท อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย จำกัด โดยโครงการพัฒนาชุมชนโรงเรียนของหนูได้ให้ความอนุเคราะห์ปรับปรุงอาคารเรียนที่ 2 เปลี่ยนฝ้า เพดาน 3 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องสื่อ ห้องเรียนแหล่งเรียนรู้ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน ตารางเมตร (เหมาค่าแรงและค่าอุปกรณ์ ทาสีฝ้า สีขาวจำนวน 162 ตารางเมตร เปลี่ยนรางน้ำฝนความยาว 60 เมตร มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม - 16 กันยายน 2553
                ปีการศึกษา 2554 ได้ทำประตูเปิด-ปิด  หน้าโรงเรียน จำนวน 1 ชุด โดยใช้เงินในการจัดงานโรงเรียน
                ปีการศึกษา 2554 ได้รับความอนุเคราะห์ จากคุณ Mario และคุณอ้อน  จัดทำห้องเก็บเครื่องกรองน้ำ พร้อมเครื่องกรองน้ำให้โรงเรียนจำนวน 1 ชุด
                ปีการศึกษา 2555 ปูกระเบื้อง ห้องคอมพิวเตอร์และได้รับคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด
                ปีการศึกษา 2556สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในโรงเรียน งบประมาณ ก่อสร้าง 254,000
                ปีการศึกษา 2557 ซ่อมแซม ฝาผนังอาคารเรียน แบบ ป1จ (2522) งบประมาณ 100,000
                ปีการศึกษา 2558 ปูกระเบื้อง อาคารเรียน แบบ ป1 จ งบประมาณ 247,500
                ปีการศึกษา 2558 ซ่อมแซมฝาผนังอาคารแบบ ป1 จ (เพิ่มเติมจากปี การศึกษา 2557) งบประมาณ 100,000 
                ปีการศึกษา 2559 จัดทำก๊าซชีวภาพ โดยไม่มีงบประมาณ
                ต่อมาหมวดการศึกษาอำเภอหัวหิน  เห็นว่าที่ตั้งโรงเรียนอยู่ห่างจากถนนเกินไป  จึงให้โรงเรียนแลกเปลี่ยนที่ดินกับชาวบ้าน แล้วสร้างโรงเรียนขึ้นมาใหม่เป็นอาคารชั่วคราวโดยขอความร่วมมือจากศูนย์การทหารราบค่ายธนะรัชต์ปราณบุรี ขอรถมาปรับที่ดินและมีชาวบ้านร่วมด้วย 6 คันใช้เวลาในการปรับปรุงพื้นที่ 7 วัน ได้ทำพิธีเปิดอาคารใหม่  เมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม  พ.ศ. 2520  โดยมีหัวหน้าหมวดการศึกษาอำเภอหัวหินมาเป็นประธานในพิธี    
                เมื่อ พ.ศ.  2521 ทางราชการ ได้กำหนดให้โรงเรียนที่เปิดใหม่ต้องมีเนื้อที่อย่างน้อย  10  ไร่ขึ้นไป  ผู้ใหญ่แหว่ว  เอี่ยมศิริและชาวบ้านรวบรวมเงินซื้อให้อีก 3 ไร่ และได้ติดต่อกับบริษัทสัปปะรดกระป๋องไทย (ไต้หวัน)สร้างอาคารเรียนให้อีก 1 หลัง  มีจำนวนห้องเรียน 4  ห้อง  ตัวอาคารมีขนาดกว้าง  8.5 เมตรยาว 36  เมตรทางราชการได้ส่งนางจรรยา  ส้มเขียวหวาน  มาเป็นครูใหญ่แทนนายวิชัย ทองเกลี้ยง   ซึ่งย้ายกลับโรงเรียนเดิม
ปี พ.ศ. 2522 จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ได้จัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนให้ 1 หลัง 5ห้องเรียนเป็นอาคารแบบ ป.1จ  ใช้งบประมาณทั้งสิ้น 400,000  บาท (สี่แสนบาทถ้วน) พร้อมสร้างบ้านพักครูตามแบบขององค์การบริหารส่วนจังหวัด  ในวงเงิน 85,000 บาท (แปดหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
                ปี  พ.ศ. 2525   นายสำเภา  ประจวบเหมาะ   สมาชิกสภาจังหวัดประจวบคีรีขันธ์  ได้บริจาคทรัพย์สร้างบ่อน้ำบาดาล เป็นเงิน  45,000 บาท(สี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)และซื้อคอนกรีต  48,250   บาท  (สี่หมื่นแปดพันสองร้อยห้าสิบบาทถ้วน)  
                ปี พ.ศ. 2526 ได้งบประมาณจากทางราชการสร้างอาคารเอนกประสงค์ แบบ สปช. 202 / 26 เป็นเงิน 200,000 บาท(สองแสนบาทถ้วน) และส้วมแบบ สปช. 601/26 เป็นเงิน 40,000 บาท 
                ปี พ.ศ. 2527 ได้รับจัดสรรงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ สปช. 102 / 26  อีกหนึ่งหลัง  จำนวน 2   ห้องเรียน   เป็นเงิน   280,000   บาท  (สองแสนแปดหมื่นบาทถ้วน)
                ปี พ.ศ. 2528 ได้งบประมาณสร้างเรือนเพาะชำแบบ  พ. 1  จำนวน 1 หลัง เป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)  ปี พ.ศ. 2529 ได้งบประมาณติดตั้งไฟฟ้าโรงเรียนเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2531 ทางราชการส่งนายประยูร  คล้ายจำลอง  มาเป็นอาจารย์ใหญ่แทนนายนิเซะ  มะกาเจ
                ปี พ.ศ. 2532  กำนันแหว่ว   เอี่ยมศิริ  พร้อมคณะได้จัดสร้างหอถังน้ำประปาโรงเรียนตามแบบของกรมอนามัยซึ่งมีถังเป็นคอนกรีตเสริมเหล็ก 1 ที่
                ปีพ.ศ. 2533  ได้งบประมาณสร้างถังน้ำฝน  แบบ  ฝ.30   พิเศษ  จำนวน  1  ที่  3 ถัง  เป็นเงิน 48,500 บาท      (สี่หมื่นแปดพันห้าร้อยบาทถ้วน)  สร้างเสร็จเมื่อวันที่ 12  กรกฎาคม 2533
                เมื่อวันที่ 25  กรกฎาคม  2534 บริษัทมาเจสติค ครีกคันทรีคลับได้มาให้ความอนุเคราะห์บริจาคห้องสมุดตามโครงการห้องสมุดคิดเป็นมูลค่า 55,000 บาท  (ห้าหมื่นห้าพันบาทถ้วน) ทางโรงเรียนได้ดำเนินการสร้างและได้รับมอบหมายโดยตัวแทน   นายอำเภอจากบริษัทเรียบร้อยเมื่อวันที่ 13 กันยายน 2538
                ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2536  ได้สร้างโรงเก็บรถนักเรียน  โดยการนำของนางรัตนาภรณ์  เพิ่มยศ  ซึ่งได้รับความอุปการะจากบริษัทเดอะมาเจสติกครีกและนางบุศรา  เถาลิโป้  สร้างเตาเผาขยะบริจาคให้แก่ทางโรงเรียน 1 ที่โดยไม่ได้ใช้เงินงบประมาณของทางราชการทั้งสองรายการ นายแหว่ว  เอี่ยมศิริ  กำนันตำบลทับใต้และบริษัทเดอะมาเจสติกครีก  นำดินมาถมสนามให้แก่ทางโรงเรียนพร้อมปรับพื้นที่ให้เรียบร้อยและใช้การได้ดี
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม 2538  นายอมรรัตน์  ม่วงสกุล  ได้บริจาคโรงอาหารให้ 1 หลัง  เป็นคอนกรีตโครงเหล็ก เป็นเงินค่าก่อสร้าง จำนวน 100,000  บาท  (หนึ่งแสนบาทถ้วน) 
                เมื่อปี 2548  โรงแรมฮิลตันได้บริจาคเงินจำนวน   115,000    บาท   เพื่อสร้าง   อาคารห้องสมุดให้แก่โรงเรียนจำนวน 1 หลัง  และส้วม  จำนวน 1 หลัง  มี 3 ห้อง  และทำการทาสีอาคารเรียนที่ 1 พร้อมบริจาคอาหารและเครื่องเขียนจำนวน หนึ่ง
เมื่อวันที่ 5  ธันวาคม 2549  ชาวบ้านได้ร่วมกันจัดสร้าง โรงเก็บรถครูจำนวน 1 หลัง  โดยจัดหางบประมาณมาเอง  ประมาณ 10,000 บาท
                ปี 2550 คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนพร้อมคณะครูได้จัดสร้างโรงจอดรถให้โรงเรียน  1  หลัง   เป็นเงิน  20,000  บาท
                ปี 2551  คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียนบ้านวังข่อยและชุมชนได้จัดทอดผ้าป่าการศึกษา   ได้เงินจำนวน  100,000  บาท  แล้วนำเงินไปสร้างกำแพงโรงเรียนจนเสร็จเรียบร้อย
                ปี 2551  องค์การบริหารส่วนตำบลทับใต้   ได้ขอห้องเรียนเพื่อเปิดศูนย์เด็กเล็ก 3 ขวบ  1 ห้องเรียน  โดยส่งผู้ดูแลเด็กเล็กจำนวน  2  คน
                ปีการศึกษา  2552 โรงเรียนได้ปูกระเบื้องอีก 5 ห้อง คือ ห้องพยาบาล ห้อง ป.1 -3 และห้องพิเศษ โดยใช้งบประมาณในการจัดงานโรงเรียนประจำปี
                ปีการศึกษา 2553 บริษัท อุตสาหกรรมสับปะรดกระป๋องไทย จำกัด โดยโครงการพัฒนาชุมชนโรงเรียนของหนูได้ให้ความอนุเคราะห์ปรับปรุงอาคารเรียนที่ 2 เปลี่ยนฝ้า เพดาน 3 ห้องเรียน ได้แก่ ห้องสื่อ ห้องเรียนแหล่งเรียนรู้ห้องคอมพิวเตอร์ จำนวน ตารางเมตร (เหมาค่าแรงและค่าอุปกรณ์ ทาสีฝ้า สีขาวจำนวน 162 ตารางเมตร เปลี่ยนรางน้ำฝนความยาว 60 เมตร มอบเครื่องคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด เมื่อวันที่ 30 สิงหาคม - 16 กันยายน 2553
                ปีการศึกษา 2554 ได้ทำประตูเปิด-ปิด  หน้าโรงเรียน จำนวน 1 ชุด โดยใช้เงินในการจัดงานโรงเรียน
                ปีการศึกษา 2554 ได้รับความอนุเคราะห์ จากคุณ Mario และคุณอ้อน  จัดทำห้องเก็บเครื่องกรองน้ำ พร้อมเครื่องกรองน้ำให้โรงเรียนจำนวน 1 ชุด
                ปีการศึกษา 2555 ปูกระเบื้อง ห้องคอมพิวเตอร์และได้รับคอมพิวเตอร์ จำนวน 5 ชุด
                ปีการศึกษา 2556สร้างถนนคอนกรีตเสริมเหล็กในโรงเรียน งบประมาณ ก่อสร้าง 254,000
                ปีการศึกษา 2557 ซ่อมแซม ฝาผนังอาคารเรียน แบบ ป1จ (2522) งบประมาณ 100,000
                ปีการศึกษา 2558 ปูกระเบื้อง อาคารเรียน แบบ ป1 จ งบประมาณ 247,500
                ปีการศึกษา 2558 ซ่อมแซมฝาผนังอาคารแบบ ป1 จ (เพิ่มเติมจากปี การศึกษา 2557) งบประมาณ 100,000 
                ปีการศึกษา 2559 จัดทำก๊าซชีวภาพ โดยไม่มีงบประมาณ

วิสัยทัศน์

สถานศึกษาน่าอยู่ ควบคู่คุณธรรม
นำวิถีความเป็นไทย ก้าวไกลเทคโนโลยี
มีคุณภาพวิชาการ  ดำเนินการแบบมีส่วนร่วม
โดยยึดหลักเศรษฐกิจพอเพียง 

พันธกิจ

1. เพื่อให้โรงเรียน มีสภาพแวดล้อมภายในโรงเรียนมีบรรยากาศที่ดีเหมาะสม เอื้อต่อการจัดกระบวนการเรียนรู้
2. เพื่อให้นักเรียนได้รับการพัฒนาให้มีคุณธรรม  จริยธรรม  และได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกความเป็นไทย
3. เพื่อพัฒนาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศสื่อการเรียนการสอน
4. เพื่อพัฒนายกระดับมาตรฐานการศึกษา และผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาให้สูงขึ้น
5. เพื่อพัฒนาระบบบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมให้มีประสิทธิภาพ  โดยยึดหลักธรรมาภิบาล และการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์
6. เพื่อให้นักเรียน ครู และบุคลากรทางการศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักปรัชญาของเศรษฐกิจ พอเพียง

เป้าประสงค์

1. สถานศึกษาพัฒนาแหล่งเรียนรู้  และสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการเรียนรู้อย่างมีคุณภาพ
2. ผู้เรียนเป็นผู้มีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษา เป็นคนเก่ง คนดี มีความสุข มีความรู้มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบ ต่อตนเองและสังคม บนพื้นฐานความเป็นไทย น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงสู่การดำรงชีวิต
3. สถานศึกษามีหลักสูตรสถานศึกษาที่ส่งเสริมความเป็นเลิศทางวิชาการ ตอบสนองความถนัดและความต้องการของผู้เรียน ชุมชน และสังคม
4. สถานศึกษามีระบบการบริหารจัดการที่ดี  โดยเน้นการกระจายอำนาจ และการมีส่วนร่วมของคณะกรรมการสถานศึกษา บุคลากรภายในโรงเรียน ชุมชน และทุกภาคส่วนมีส่วนร่วมในการบริหารจัดการศึกษาโดยโดยยึดหลักธรรมาภิบาล