ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

วิชาการดี ฝีมือเลิศ ประเสริฐน้ำใจ วินัยเคร่งครัด มัธยัสถ์และซื่อตรง

ประวัติโรงเรียน

         วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด สถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3 สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา ตั้งอยู่เลขที่ 177 ถนนรณชัยชาญยุทธ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดร้อยเอ็ด รหัสไปรษณีย์ 45000  มีเนื้อที่ 25 ไร่

          จัดตั้งเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ. 2522   เดิมชื่อ "ศูนย์ฝึกวิชาชีพ"  ได้จัดตั้งขึ้นตามโครงการจัดตั้งศูนย์ฝึกวิชาชีพ โดยเงินกู้ของธนาคารโลก จัดตั้งเป็นศูนย์ขนาดเล็กในเขตการศึกษา 10  ประกาศเริ่มก่อสร้างเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2523 และได้รับการเปลี่ยนชื่อเป็น วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด ได้เปิดทำการสอนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2524 โดยเปิดสอนในหลักสูตรมัธยมศึกษาตอนปลายสายวิชาชีพ เรียกว่าหลักสูตรวิชาชีพ (วช.) บริการให้กับนักเรียนในโรงเรียนมัธยมศึกษาของกรมสามัญศึกษา ซึ่งเรียกว่าโรงเรียนต้นสังกัดในเขตจังหวัดร้อยเอ็ดและจังหวัดใกล้เคียงทั้ง ภาครัฐบาลและเอกชน

   นอกจากนั้นยังได้เปิดสอนในหลักสูตรวิชาชีพระยะสั้นให้กับ ประชาชนทั่วไปทั้งภาคในเวลาราชการ และภาคนอกเวลาราชการในสาขาวิชาต่าง ๆ ตามความต้องการของท้องถิ่น

   เมื่อวันที่ 7 มิถุนายน พ.ศ. 2534 ได้เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ(ปวช.)ในสาขาวิชาที่ขาดแคลนปีการศึกษา 2539 เปิดสอนหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง(ปวส.)ตั้งแต่นั้นเป็นต้นม

วิสัยทัศน์

         วิทยาลัยการอาชีพร้อยเอ็ด มุ่งมั่นจัดการศึกาาที่สร้างความเข้มแข็งให้แก่บุคคลในสังคมแห่งการเรียนรู้ มีการจัดการที่หลากหลาย เพื่อให้ผู้สำเร็จการศึกษาที่พึงประสงค์ตามเกณฑ์มาตรฐาน สนับสนุนนการสร้างรายได้ส่งเสริมทางด้านการวิจัยการพัฒนาบุคลากรการบริหาร จัดการ  ตลอดจนการสร้างความสัมพันธ์อันดีกับ ชุมชน

พันธกิจ

  1. พัฒนาระบบการบริหารจัดการบุคลากร ให้มีความรู้ความสามารถ ก้าวทันเทคโนโลยีและสรรพวิชาที่ทันสมัย
  2. ผลิตกำลังคนให้มีคุณภาพทางด้านวิชาการและวิชาชีพในทุกระดับ ให้สอดคล้องกับสภาพสังคม และวัฒนธรรม และสนองความต้องการตลาดแรงงาน
  3. สนับสนุนงานวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ เพื่อพัฒนาฝีมือแรงงานให้ได้มาตรฐาน การสร้างงาน สร้างรายได้แก่ผู้เรียน
  4. สนับสนุนกิจกรรมทั้งภายในภายนอก เพื่อสร้างความมีระเบียบวินัยและสนองตอบต่อเชาว์ ปัญญาและอารมณ์ของผู้เรียน

เป้าประสงค์

  1. ผู้เรียนมีสมรรถนะวิชาชีพตามสาขางาน
  2. การบริการวิชาชีพเป็นที่ยอมรับของชุมชน
  3. การบริหารจัดการแบบมีส่วนร่วมและใช้เทคโนโลยีมาช่วยในกาบริหารจัดการ
  4. พัฒนาผลงานด้านวิจัยและสิ่งประดิษฐ์ นวัตกรรมและเทคโนโลยีเพื่อส่งเสริมสนับสนุนการจัดการศึกษาและการประกอบอาชีพ