ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

ถิ่นชมพูเหลือง เมืองเก่าโบราณ เฟื่องฟ้าหลากหลาย มากมายป่าสัก

ประวัติโรงเรียน

โรงเรียนคูเมืองวิทยา  เป็นโรงเรียนมัธยมศึกษา  สังกัดกรมสามัญศึกษา  ได้รับอนุมัติให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนมัธยมประจำตำบลเมื่อปีการศึกษา  2536  เปิดครั้งแรกเมื่อวันที่  16  พฤษภาคม  2536  โดยใช้สถานที่ของโรงเรียนคูเมืองวิทยาเป็นที่ทำการชั่วคราว  ซึ่งประชาชนตำบลกุดชุมแสง  ตำบลคูเมือง  ร่วมกันสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลัง 7 ห้องเรียน  โรงเรียนหนองบัวแดงวิทยาได้แต่งตั้งและมอบหมายให้  นายนิคม  ป้อมปริยานนท์  ผู้ช่วยผู้อำนวยการโรงเรียนหนองบัวแดงวิทยา  ดูแลประสานงานทั่วไป  เปิดรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่  จำนวน  ห้องเรียนแบบสหศึกษา  รับนักเรียนไป – กลับ

          วันที่  10  สิงหาคม  2540  กระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศเป็นโรงเรียนรัฐบาล (เอกเทศ)  โดยตั้งให้  นายนิคม  ป้อมปริยานนท์  ปฏิบัติหน้าที่ครูใหญ่โรงเรียนคูเมืองวิทยา  มีครู – อาจารย์ จำนวน 5 คน นักการภารโรง จำนวน 1 คน

          ปี  2541  ได้รับงบประมาณจัดสร้างอาคารเรียนกึ่งถาวรและห้องส้วมมาตรฐาน 1 หลัง

          ปี 2542  ได้รับงบประมาณติดตั้งระบบไฟฟ้าประปา  และปรับบริเวณโรงเรียน  ได้รับอนุญาตให้เปิดสอนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย

          ปี 2544 ได้รับงบประมาณจากประเทศญี่ปุ่นก่อสร้างอาคารเรียน

          ปี 2545  ได้รับงบประมาณก่อสร้างอาคารหลังคาทรงไทย  พร้อมสิ่งก่อสร้างประกอบ  7 รายการ  พร้อมบ้านพักผู้อำนวยการสถานศึกษา 1 หลัง  บ้านพักข้าราชการครู  จำนวน 2 หลัง  และบ้านพักนักการภารโรง จำนวน 1 หลัง 

          ปี 2547  ได้รับงบประมาณก่อสร้างหอประชุม 100/27 จำนวน 1 หลัง  และจัดทำป้ายชื่อโรงเรียนคูเมืองวิทยา

          ปี 2550  ได้รับงบประมาณในการจัดซื้อคอมพิวเตอร์เพื่อจัดการเรียนการสอน  จำนวน  1 ห้องเรียน  จากสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาชัยภูมิ เขต 1

          วันที่  มีนาคม  2556  โรงเรียนคูเมืองวิทยาได้รับการรับรองให้เป็นโรงเรียนต้นแบบโรงเรียนในฝัน (โรงเรียนดีประจำอำเภอ) รุ่นที่ 3

วิสัยทัศน์

นักเรียนมีคุณธรรมนำความรู้  สืบสานภูมิปัญญาไทย  ใช้หลักเศรษฐกิจพอเพียง  พัฒนาเทคโนโลยี  ครู  ผู้บริหาร  และสถานศึกษามีคุณภาพตามมาตรฐาน  ชุมชนมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

พันธกิจ

1.       พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณธรรมนำความรู้  ด้วยการจัดการศึกษาควบคู่กับการสืบสานภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรม

2.       ส่งเสริม  สนับสนุนและจัดกระบวนการเรียนการสอนโดยเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3.       พัฒนา  ส่งเสริม  สนับสนุน  การนำสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา

4.       พัฒนาผู้เรียนให้มีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา

5.       ส่งเสริม สนับสนุนและพัฒนาครู  ผู้บริหาร  และบุคลากรเพื่อให้มีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

6.       ประสานความร่วมมือกับองค์กรทุกภาคส่วนเพื่อเข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา

เป้าประสงค์

1.       ผู้เรียนมีคุณธรรม  ความรู้  สืบสานภูมิปัญญาไทยและวัฒนธรรมท้องถิ่น

2.       ครูมีกระบวนการจัดการเรียนการสอนโดยเน้นหลักเศรษฐกิจพอเพียง

3.       ครูนำสื่อนวัตกรรม  เทคโนโลยีมาใช้ในการจัดการศึกษา

4.       สถานศึกษามีสื่อนวัตกรรมและเทคโนโลยีที่ใช้ในการจัดการศึกษาอย่างพอเพียงและทันสมัย

5.       ผู้เรียนมีคุณภาพตามเกณฑ์มาตรฐานการศึกษา  ครู  ผู้บริหาร  และบุคลากรมีคุณภาพตามมาตรฐานวิชาชีพ

6.       สถานศึกษาได้รับความร่วมมือและการสนับสนุนทรัพยากรในการจัดการศึกษามากขึ้น