Kingpetchschool@hotmail.com ๐๒ ๒๑๕ ๓๖๕๗

ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

สะอาดดี มีวินัย ใส่ใจศึกษา พัฒนาด้วยเทคโนโลยี

ประวัติโรงเรียน

     เดิมตั้งอยู่ที่ศาลาเลขที่ ๔๙๓ ตำบลถนนเพชรบุรี อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร ซึ่งเป็นศาลาของอิสลามมิกชน มีชื่อว่า "โรงเรียนสุเหร่าเก่า " ซึ่งทางอำเภอดุสิตจัดตั้งขึ้นโดยมีขุนสำราญราษฏร์บริรักษ์ นายอำเภอดุสิตเป็นผู้ทำพิธีเปิดโรงเรียน เมื่อวันที่ ๑๖ มีนาคม ๒๔๗๕ ต่อมาปี พ.ศ. ๒๔๗๘ ทางราชการได้สร้างอาคารเรียนใหม่เลขที่ ๓๒๓ ซอยกิ่งเพชร ตำบลถนนเพชรบุรี อำเภอดุสิต จังหวัดพระนคร จึงได้ย้ายโรงเรียนมาทำการสอน ณ อาคารใหม่ใช้ชื่อว่า "โรงเรียนประชาบาลสุเหร่าเก่า"

     - พ.ศ. ๒๔๘๐ โอนเป็นโรงเรียนสังกัดเทศบาลกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทศบาล ๓ (ถนนเพชรบุรี)"

     - พ.ศ. ๒๔๘๘ ย้ายกลับไปที่ศาลาสุเหร่าเก่าเปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทศบาล ๑๓ (สุเหร่าเก่า)"

     - พ.ศ. ๒๔๙๑ โอนกลับมาเป็นโรงเรียนในสังกัดกรุงเทพมหานคร เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนเทศบาลกิ่งเพชร"

     - พ.ศ. ๒๕๐๕ โอนเป็นโรงเรียนสังกัดเขตพญาไท เปลี่ยนชื่อเป็น "โรงเรียนกิ่งเพชร"

     - พ.ศ. ๒๕๓๓ เป็นโรงเรียนในสังกัดเขตราชเทวีใช้ชื่อเดิม คือ "โรงเรียนกิ่งเพชร"

     มีอาคารเรียนเป็นตึก ๔ ชั้น ๔๘ ห้องเรียน อาคาร ๑ ชั้นล่างเป็นห้องโถงใช้เป็นที่ประชุมนักเรียนชั้นล่างและห้องอาหาร ใต้อาคาร ๒ ภายในบริเวณโรงเรียนมีโรงครัว โรงฝึกงาน และบ้านพักภารโรง สนามโรงเรียนปูด้วยกระเบื้องยาง สูงกว่าระดับถนน มีเนื้อที่ประมาณ ๒ ไร่ ๒ งาน ๗๕ ตารางวา ตั้งอยู่สุดซอยกิ่งเพชร


สัญลักษณ์ประจำโรงเรียนกิ่งเพชร

เเนะนำโรงเรียน, โรงเรียน, โรงเรียนอนุบาล, อนุบาล, โรงเรียนประถม, โรงเรียนมัธยม. โรงเรียนกิ่งเพชร


วิสัยทัศน์

     เป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้        ควบคู่คุณธรรม

     รักความเป็นไทย                   ใส่ใจสิ่งแวดล้อม

     ก้าวหน้าทันเทคโนโลยี             สร้างเด็กดีสู่สังคม

     ๑. เลิศด้วยปัญญา  (Be intelligent)

     ๒. เป็นเอกทางภาษา (Be uniquely experts in English)

     ๓. ก้าวล้ำเทคโนโลยี  (Be advance in technology)

     ๔. เป็นคนดีของสังคม (Be decent citizens for society)

     ๕. น้อมนำวัฒนธรรมไทย (Be Thai Culture)

     ๖. ใส่ใจสิ่งแวดล้อม (Be concern with the environment)


พันธกิจ

     ๑. พัฒนาผู้เรียนในด้านวิชาการและความถนัดของผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ

     ๒. จัดการศึกษาโดยให้สังคมมีส่วนร่วม ทั้งผู้ปกครอง ชุมชนและองค์กรเอกชน

     ๓. สนับสนุนส่งเสริมกิจกรรมรณรงค์ต่อต้านยาเสพติด

     ๔. พัฒนาและปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม

     ๕. พัฒนาผู้เรียนให้มีทักษะในการใช้เทคโนโลยีและสารสนเทศ

     ๖. ส่งเสริมและปลูกฝังความเป็นประชาธิปไตยโดยให้ผู้เรียนมีส่วนร่วม

     ๗ ส่งเสริมและร่วมกันอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมและประเพณีไทย