ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

เด็กมีปลอดภัย ใส่ใจการเรียนรู้ มุ่งสู่พัฒนาการตามวัย

ประวัติโรงเรียน


ข้อมูลพื้นฐานของสถานศึกษา

. ข้อมูลทั่วไป

          ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร ตั้งอยู่เลขที่๑๓  หมู่ที่๓ ตำบลหนองทุ่ม อำเภอเซกา จังหวัดบึงกาฬ รหัสไปรษณีย์๓๘๑๕๐

          เปิดสอนระดับชั้นเตรียมอนุบาล ๑ ถึงระดับชั้นเตรียมอนุบาล ๒ จำนวน ๕ ห้องเรียน

ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กมีเนื้อที่  ๑  ไร่

          ประวัติความเป็นมาศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร สังกัดกองการศึกษา องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม  ตั้งอยู่บริเวณที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม บ้านเหล่าสวนกล้วย  หมู่  ๓  ตำบลหนองทุ่ม  อำเภอเซกา  จังหวัดบึงกาฬ มีอาณาเขตติดต่อ  ดังนี้

                   ทิศเหนือติดกับบึงเค็ง  บ้านบึงเค็ง  หมู่ที่ ๒

                   ทิศใต้ติดถนนสายหนองหิ้ง-เซกา

                   ทิศตะวันออกติดบึงเค็ง บ้านบึงเค็ง  หมู่ที่ ๒

                   ทิศตะวันตกติดหมู่บ้านเหล่าสวนกล้วย  หมู่ที่ ๓     

2. ประวัติศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร

ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร เดิมตั้งอยู่บ้านหนองทุ่ม หมู่ที่ ๑ จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ ๑ เดือน  พฤศจิกายน พ.ศ.  ๒๕๔๔  โดยท่านอธิการเผือ  สุธรรมโม  ซึ่งเป็นเจ้าอาวาสวัดจอมมณีธรขณะนั้น  เมื่อ  พ.ศ.  ๒๕๔๖  ได้รับพัดยศเป็นท่านพระครูสุธรรม  สิทธิคุณ    เป็นผู้บริหารศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร โดยอยู่ในความดูแลของศึกษาธิการอำเภอเซกา จังหวัดหนองคาย และสังกัดกรมศาสนา  มีเด็กจำนวน  ๘๒  คน  พระพี่เลี้ยงจำนวน  ๑  รูป  ต่อมาเมื่อปี  พ.ศ.  ๒๕๔๖  ทางราชการได้ยุบรวมศึกษาธิการอำเภอไปอยู่ในเขตพื้นที่การศึกษาและถ่ายโอนศูนย์ให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม   เมื่อวันที่  ๑๖  เดือนมิถุนายน พ.ศ.๒๕๕๒ ได้ทำข้อตกลงร่วมกันระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม กับวัดจอมมณีธร ใช้การบริหารจัดการในรูปแบบที่สอง โดยทางวัดมอบหมายให้ องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม บริหารจัดการด้านต่างๆทั้งหมด  วันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๘ ภาคเรียนที่ ๑/๒๕๕๘ จึงได้ย้ายเด็กทั้งหมดมาจัดการเรียนการสอน ณ อาคารศูนย์อบรมเด็กขององค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม ณ ที่ทำการองค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม

การเปิดเรียนประจำภาคเรียนที่ ๑/๒๕๖๕ เมื่อวันที่ ๑๗  พฤษภาคม ๒๕๖๕

          ปัจจุบันมีผู้ดูแลเด็กจำนวน  ๕ คนดังนี้

๑.      นางสาวสุรีลักษณ์  บุญมี       ครู                          ปฐมวัย/เตรียมอนุบาล ๑/๑

๒.    นางสาวรัตนาภรณ์  คุณาคม   ผช.ครูผู้ดูแลเด็ก            ปฐมวัย/เตรียมอนุบาล ๑/๒

๓.     นางสาวกรศิริ  รัตนอาษา      ผู้ดูแลเด็ก                  ปฐมวัย/เตรียมอนุบาล ๑/๓

๔.     นางสาวอำภา  คุณาคม        ครู                          ปฐมวัย/เตรียมอนุบาล ๒/๑

๕.     นาง สวรรค์  ดงสันนิวาส       ครู                          ปฐมวัย/เตรียมอนุบาล ๒/๒

ปัจจุบัน ตามข้อมูล ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๕ มีเด็กนักเรียนจำนวน  5๗  คน  มีพื้นที่เขตบริการ  ๗  หมู่บ้านคือ  บ้านหนองทุ่ม  หมู่ที่  ๑  บ้านบึงเค็ง หมู่ที่  ๒  บ้านเหล่าสวนกล้วย  หมู่ที่  ๓  บ้านดงตอกแป้น  หมู่ที่  ๔  บ้านโคกก่อง  หมู่ที่  ๕  บ้านหนองจิก  หมู่ที่  ๖  และบ้านหนองทุ่มใต้  หมู่ที่ ๑๒   

3.  ลักษณะทั่วไป

                   ลักษณะของชุมชนที่อยู่ในเขตโดยรอบศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร มีประชากร  ๓,๘๙๗  คน  ซึ่งส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม  ได้แก่  ทำไร่  ทำนา  ทำสวน  เลี้ยงสัตว์  และรับจ้างทั่วไป พื้นที่ทำการเกษตรส่วนหนึ่งเป็นที่ลุ่มน้ำท่วมถึง ประชากรส่วนมากฐานะค่อนข้างยากจน หลังจากเก็บเกี่ยวผลผลิตทางการเกษตรเสร็จสิ้น ประชาชนวัยแรงงานส่วนใหญ่เดินทางไปทำงานต่างจังหวัด เพื่อหารายได้เสริม

          สภาพทางสังคม  ผู้คนในชุมชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีความเอื้ออาทร  ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน  การดำรงชีวิตตามวิถีชาวบ้านทั่วไป  มีประเพณีอันดีงามของท้องถิ่นที่ยังยึดถือที่ได้ปฏิบัติสืบทอดกันมา  คือ  ประเพณีแข่งเรือยาว  ประเพณีการแห่เทียนเข้าพรรษา และประเพณีพื้นบ้านอีสานอื่นๆ ยังคงรักษารูปแบบโบราณดั่งเดิม


วิสัยทัศน์

วิสัยทัศน์

ภายในปีพุทธศักราช ๒๕๖๕ ศูนย์อบรมเด็กก่อนเกณฑ์ในวัดจอมมณีธร สังกัดกองการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม องค์การบริหารส่วนตำบลหนองทุ่ม  จัดการศึกษาเด็กก่อนเกณฑ์  (ระดับปฐมวัย)  มุ่งพัฒนาผู้เรียนให้มีความพร้อมทั้ง  ๔  ด้าน  มุ่งให้นักเรียนมีสุขภาพร่างกายแข็งแรง  สมบูรณ์  จิตใจร่าเริงแจ่มใส  มีสุขภาพจิตที่ดี  มีคุณธรรมจริยธรรม  และมีสุนทรียภาพทางศิลปะดนตรี  มีระเบียบวินัย  มีความรับผิดชอบ  รักความเป็นไทย  รักสิ่งแวดล้อม  มีความสามารถในการใช้ภาษาในการสื่อสาร  มีความคิดสร้างสรรค์คิดแก้ไขปัญหา  และอยู่ในสังคมระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขได้อย่างมีความสุข ครู พัฒนาความรู้ความสามารถของตนเองและนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์อย่างเต็มตามศักยภาพ  ชุมชนตระหนักเห็นความสำคัญและมีส่วนร่วมอย่างจริงจังในการพัฒนาเด็กและเยาวชน

พันธกิจ

ภารกิจและพันธกิจ

          ๑   จัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ

          ๒   ส่งเสริมสุขภาพร่างกายให้ปลอดภัยแข็งแรงสมบูรณ์ จิตใจร่าเริงแจ่มใส

          ๓ ส่งเสริมคุณธรรมจริยธรรม ความมีระเบียบวินัย ความรับผิดชอบ การอยู่ร่วมกันในสังคมประชาธิปไตย

          ๔  ส่งเสริมให้รักสิ่งแวดล้อม รักความเป็นไทย

          ๕  ส่งเสริมศิลปะ  ดนตรี

          ๖  ส่งเสริมการใช้ภาษาในการสื่อสาร การคิดและการแก้ปัญหา

          ๗  พัฒนาผู้ดูแลเด็กสู่การเป็นครูที่มีมาตรฐานมืออาชีพ

          ๘  ส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการจัดและพัฒนาการศึกษา

จุดมุ่งหมายการเพื่อพัฒนา

          ๑ เพื่อพัฒนาผู้เรียน ๔ ด้าน  ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

          ๒ เพื่อพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

          ๓  เพื่อพัฒนา แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา

          ๔  เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ

-          การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM)

-          การบริหารการศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM)

-          การบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล(Good Governance)

-          หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์

จุดมุ่งหมายการเพื่อพัฒนา

          ๑ เพื่อพัฒนาผู้เรียน ๔ ด้าน  ร่างกาย อารมณ์ สังคม สติปัญญาและคุณลักษณะอันพึงประสงค์

          ๒ เพื่อพัฒนาครูให้เป็นครูมืออาชีพ

          ๓  เพื่อพัฒนา แหล่งเรียนรู้และสิ่งแวดล้อมทางการศึกษา

          ๔  เพื่อพัฒนาการบริหารจัดการ

-          การบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (RBM)

-          การบริหารการศึกษาแบบใช้โรงเรียนเป็นฐาน(SBM)

-          การบริหารจัดการตามหลักธรรมมาภิบาล(Good Governance)

-          หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าหมายการจัดการศึกษาปฐมวัย

               1. เด็กทุกคนมีความพร้อม  กล้าแสดงออก  และพัฒนาการทุกด้านเหมาะสมกับวัย

              2. เด็กทุกคนมีนิสัยใฝ่รู้  ใฝ่เรียน รักการอ่าน  และแสวงหาความรู้ได้ด้วยตนเอง

              3. เด็กทุกคนมีร่างกายแข็งแรง  มีสุขภาพจิตดี

              4. เด็กทุกคนมีความรับผิดชอบ  มีระเบียบวินัย  มีความซื่อสัตย์  ประหยัด และอยู่ในสังคม

                  ได้อย่างมีความสุข

              5. เด็กทุกคนได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และ สิ่งแวดล้อม
               6. เด็กทุกคนได้รับการปลูกฝังให้มีจิตสำนึกในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ  และ สิ่งแวดล้อม
               7. เด็กทุกคนมีมารยาท  และปฏิบัติตนตามขนบธรรมเนียมประเพณีวัฒนธรรมไทย

               8. เด็กทุกคนมีทักษะในการใช้ภาษาเพื่อการสื่อสารในชีวิตประจำวัน