ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

"มีวินัย ใฝ่คุณธรรม"

ประวัติโรงเรียน

   โรงเรียนบ้านสิบสองหุ้นเริ่มก่อตั้งครั้งแรก เมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2502 มีพื้นที่ 8 ไร่ 2 งาน 34 ตารางวา เปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยมีนายสงวน มิลินทานุช เป็นครูใหญ่ เดิมตั้งอยู่หมู่ที่ 7 ตำบลสามกระทาย อำเภอกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ โดยขอตั้งชื่อว่า บ้านไร่ใหม่สิบสองหุ้นได้รับความร่วมมือในการจัดสร้างจากประชาชนในหมู่บ้าน มีนายปัทม์ เหรียญทอง นายเปรี่ยง ชุ่มบุญชู นายเหลี่ยง แซ่ลี้ นายสมชัย ฟักเจริญ นายเอี้ยวคุณ แซ่เอี้ยว นายโหงวจี แซ่ลิ้ม และนายเทียม กลองวงษ์ ร่วมกับคนอื่นๆ ซึ่งไม่ทราบชื่ออีก 5 คน รวมเป็น 12 คน เป็นหัวเรี่ยวหัวแรง เกิดพลังอันสำคัญในการเริ่มก่อตั้งโรงเรียน โดยสร้างอาคารเรียนแบบ 002 ไม่มีฝาขึ้น 1 หลัง เป็นเงิน จำนวน 10,274 บาทปัจจุบันโรงเรียนได้ขอเปลี่ยนชื่อจากโรงเรียนบ้านไร่ใหม่สิบสองหุ้น เป็น โรงเรียนบ้านสิบสองหุ้น สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กระทรวงศึกษาธิการในปีการศึกษา 2529 โรงเรียนได้เปิดทำการสอนชั้นเด็กเล็ก ปัจจุบันเปิดสอน ชั้นอนุบาล 1 ถึง ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ในปีการศึกษา 2548 มีห้องเรียน 8 ห้อง นักเรียน 84 คน มีครู 7 คน นักการภารโรง 1 คน ปีการศึกษา 2552 มีห้องเรียน 8 ห้อง นักเรียน 44 คน มีครู 4 คน พนักงานบริการ 1 คน

 
                              
นางสาวญาธิป  กรรณสูตร การศึกษาระดับปริญญาโท สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฎเพชรบุรี ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านสิบสองหุ้น ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ. 2558 ถึงปัจจุบัน 

 ปัจจุบันโรงเรียนบ้านสิบสองหุ้น   มีนักเรียนจำนวน  39 คน  ระดับปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 1-3                มีนักเรียนจำนวน 7 คน  และระดับประถมศึกษา ชั้นประถมปีที่  1 - 6  มีนักเรียนจำนวน  32  คน                (ข้อมูล ณ วันที่  30 กันยายน  2563)

 

วิสัยทัศน์

โรงเรียนบ้านสิบสองหุ้น  จัดการศึกษาเพื่อพัฒนาผู้เรียนสู่มาตรฐานการศึกษา น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ปฏิบัติตามหลักวิถีพุทธ โดยมีชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาผู้เรียน

เป้าประสงค์

                                                    เป้าหมาย

  1.  ส่งเสริมนักเรียนมี คุณธรรม จริยธรรม  คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และรักความเป็นไทย

  2.  ส่งเสริมนักเรียนมีความรู้ทักษะการเรียนรู้ตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานของโรงเรียน

  3.  จัดการศึกษาที่มีคุณภาพแก่นักเรียนโดยให้โอกาสเท่าเทียมกัน  เพื่อให้นักเรียนที่สำเร็จการศึกษามีทักษะ        

       ความรู้ความสามารถดำรงชีวิตในสังคมปัจจุบันได้อย่างมีความสุข

  4.  พัฒนาบุคลากรมีความรู้ความสามารถในการดำเนินกิจกรรมต่างๆสอดคล้องกับการการปฏิรูปการศึกษา   

  5.  พัฒนาสถานศึกษาให้เป็นแหล่งเรียนรู้ที่เอื้อต่อการจัดการศึกษาอย่างทั่วถึง

  6.  ผู้ปกครอง ชุมชน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง  มีส่วนร่วมและ มีความพึงพอใจในการบริหารจัดการศึกษา