ข้อมูลทั่วไป

คำขวัญ

เรียนดี มีวินัย ใจนักกีฬา

ประวัติโรงเรียน

ประวัติโรงเรียนโดยย่อ


โรงเรียนเนินพิทยาคม หมู่ที่ 2 ตําบลบ้านโคก อําเภอเมือง จังหวัดเพชรบูรณ์ ประกาศจัดตั้งเมื่อวันที่

16 มิถุนายน 2519 บนพื้นที่สาธารณะประโยชน์จํานวน 79 ไร่ 3 งาน 32 ตารางวา โดยมีคณะกรรมสภาตําบล

บ้านโคกในขณะนั้น ประกอบด้วย


นายวิรัตน์ ทองคําสุก กํานันตําบลบ้านโคก ประธานสภา

นายเลื่อน บุ้งจันทร์ ผู้ใหญ่บ้าน กรรมการ

นายลิขิต บุญมี เลขานุการ

เป็นผู้ริเริ่มและติดต่อประสานงานขอจัดตั้งโรงเรียนต่อกรมสามัญศึกษา โดยได้รับความเห็นชอบ

จากคณะกรรมการสภาตําบล อนุมัติเงินโครงการพัฒนาชุมชนท้องถิ่นจํานวน 150,000 บาท เพื่อก่อสร้าง

อาคารเรียนชั่วคราวจํานวน 2 หลัง 6 ห้องเรียน เปิดทําการเรียนการสอนเมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม 2519

โดยมีนายณรงค์ทองจันทร์ ดํารงตําแหน่งครูใหญ่ และองค์การบริหารส่วนจังหวัดได้สนับสนุนบุคลากรมาช่วย

ราชการทําการสอนจํานวน 2 คน คือ


นายหิรัญ บุญมา ครูโรงเรียนบ้านโคกประชานุกูล

นายอุปถัมถ์ ขวัญลอย ครูโรงเรียนบ้านกงกะยาง


รายนามผู้บริหารโรงเรียนเนินพิทยาคม


ชื่อ – นามสกุล ตําแหน่ง ดํารงตําแหน่ง

นายณรงค์ ทองจันทร์ ครูใหญ่ 1 มิ.ย. 2519 – 1 ธ.ค. 2520

นายเกษม จํานงวงษ์ ครูใหญ่ 1 ธ.ค. 2520 – 1 ต.ค. 2524

นายชัยมงคล พิพัฒนานนท์ อาจารย์ใหญ่ 1 ต.ค. 2524 – 2 ก.ค. 2530

นายชํานาญ นาอุดม อาจารย์ใหญ่ 3 ก.ค. 2530 – 31 ต.ค. 2537

นายไพรัช ประจันเขตต์ ผู้อํานวยการ 1 พ.ย. 2537 – 28 ม.ค. 2542

นายวิสิทธิ์ สุขเจริญ ผู้อํานวยการ 15 มี.ค. 2542 – 3 พ.ย. 2543

นายประทีป มายะนันท์ ผู้อํานวยการ 3 พ.ย. 2543 – 30 ก.ย. 2553

นายบัญญัติ ปิงโสภา ผู้อํานวยการ 4 ก.พ. 2554 – 30 ก.ย. 2557

นายประสิทธิ์ หมอรักษา ผู้อํานวยการ 1 ต.ค. 2557 – 30 ก.ย. 2558

นายมนตรี สําเภา ผู้อํานวยการ 1 ต.ค. 2558 – 25 พ.ย. 2562

นายพงษ์ศักดิ์ กางถิ่น ผู้อํานวยการ 25 พ.ย. 2562 - ปัจจุบัน

วิสัยทัศน์

สร้างสรรค์ผู้เรียนให้มีคุณธรรมและคุณภาพ

สู่มาตรฐานสากล รักความเป็นไทย น้อมนําหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง

พันธกิจ

1 พัฒนานักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสมรรถนะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. พัฒนานักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสมรรถนะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

3. บริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง

เป้าประสงค์

1 นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และมีสมรรถนะตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน

2. นักเรียนมีคุณภาพตามมาตรฐานการศึกษาขั้นพื้นฐานและมาตรฐานสากล

3. สถานศึกษาบริหารจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง